เมนู

นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมอันมี
โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้น 9 ประการนี้.
[184] ความต่าง 9 ประการ ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความ
ต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความต่างแห่งเวทนาอาศัยความต่างแห่งผัสสะเกิด
ขึ้น ความต่างแห่งสัญญาอาศัยความต่างแห่งเวทนาเกิดขึ้น ความต่าง
แห่งความดำริอาศัยความต่างแห่งสัญญาเกิดขึ้น ความต่างแห่งฉันทะ
อาศัยความต่างแห่งความดำริเกิดขึ้น ความต่างแห่งความเร่าร้อน อาศัย
ความต่างแห่งฉันทะเกิดขึ้น ความต่างแห่งการแสวงหาอาศัยความต่าง
แห่งความเร่าร้อนเกิดขึ้น ความต่างแห่งการได้รูปเป็นต้น อาศัยความ
ต่างแห่งการแสวงหาเกิดขึ้น ความต่าง 9 ประการนี้ ชื่อว่าญาณ เพราะ
อรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดธรรม 9 ประการ เป็นธรรม-
นานัตตญาณ.

อรรถกถา ธรรมนานัตตญาณนิทเทส


[177 - 178] พึงทราบวินิจฉัยในธรรมนานัตตญาณนิทเทส
ดังต่อไปนี้. บทว่า กมฺมปเถ ชื่อว่า กรรมบถ เพราะอรรถว่ากรรม
เหล่านั้นเป็นทางเพื่อไปสู่อบาย. ซึ่งกรรมบถเหล่านั้น.

กุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ กายสุจริต 3 คือ เว้นจากฆ่าสัตว์ 1
เว้นจากลักทรัพย์ 1 เว้นจากประพฤติผิดในกาม 1 วจีสุจริต 4 คือ
เว้นจากพูดปด 1 เว้นจากพูดส่อเสียด 1 เว้นจากพูดคำหยาบ 1 เว้น
จากพูดเพ้อเจ้อ 1, มโนสุจริต 3 คือ ไม่เพ่งเล็งอยากได้ 1ไม่พยาบาท 1
เห็นชอบ 1.
อกุศลกรรมบถ 10 ได้ ได้แก่ กายทุจริต 3 คือ ฆ่าสัตว์ 1
ลักทรัพย์ 1 ประพฤติผิดในกาม 1. วจีทุจริต 4 คือ พูดปด 1 พูด
ส่อเสียด 1 พูดคำหยาบ 1 พูดเพ้อเจ้อ 1. มโนทุจริต 3 คือ เพ่ง
เล็งอยากได้ 1 พยาบาท 1 เห็นผิด 1.
อนึ่ง แม้ทั้งกุศลและอกุศลท่านก็กล่าวว่ากรรมบถ เพราะให้
เกิดปฏิสนธิ. เหลือจากที่กล่าวแล้วท่านไม่กล่าวว่ากรรมบถ เพราะไม่
มีส่วนในการให้เกิดปฏิสนธิ. พึงทราบว่า แม้กุศลและอกุศลที่เหลือ
ท่านก็ถือเอาด้วยความมุ่งหมายถึงกุศลและอกุศลอย่างหยาบ.
บทว่า รูปํ ได้แก่ รูป 28 โดยประเภทเป็นภูตรูปและอุปา-
ทายรูป.
บทว่า วิปากํ ได้แก่ วิบาก 23 ด้วยอำนาจแห่งกามาวจรกุศล-
วิบาก 16. อกุศลวิบาก 7.

บทว่า กิริยํ ได้แก่ กามาวจรกิริยา 1 ด้วยสามารถแห่งปริตต-
กิริยา 3. มหากิริยา 8. ชื่อว่ากิริยาเพราะเป็นเพียงกิริยาโดยไม่มีวิวิบาก.
ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ท่านกล่าวกามาวจรด้วยอำนาจแห่งรูปเป็นอัพยา-
กฤต วิบากเป็นอัพยกฤต กิริยาเป็นอัพยากฤต.
[179 - 180] บทว่า อิธฏฺฐสฺส ได้แก่ ของบุคคลผู้ยังอยู่
ในโลกนี้. โดยมากท่านกล่าวด้วยสามารถแห่งมนุษยโลก เพราะมี
ฌานภาวนาในมนุษยโลก. อนึ่ง แม้ในเทวโลกบางแห่งบางครั้งก็ได้
ฌาน. แม้ในพรหมโลกรูปพรหมทั้งหลายก็ยังได้ ด้วยสามารถของผู้
เกิดในพรหมโลกนั้น ผู้เกิดในเบื้องล่าง และผู้เกิดในเบื้องบน. แต่ใน
ชั้นสุทธาวาสและในอรูปาวจร ไม่มีผู้เกิดในเบื้องล่าง. ในรูปาวจร
อรูปาวจรผู้ไม่เจริญฌาน เกิดในเบื้องล่าง ย่อมเกิดในกามาวจรสุคติ
เท่านั้น ไม่เกิดในทุคติ.
บทว่า ตตฺรูปปนฺนสฺส - ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลกนั้น ได้
แก่ วิบากฌาน 4 เป็นไปด้วยอำนาจปฏิสนธิภวังค์และจุติ ของบุคคล
ผู้เกิดในพรหมโลกด้วยอำนาจของวิบาก. ท่านมิได้กล่าวถึงกิริยาอันเป็น
อัพยาถฤต ในฌานสมาบัติอันเป็นรูปาวจรและอรูปาวจร. ถึงแม้ท่าน.
มิได้กล่าวก็จริง พึงทราบว่า เมื่อท่านกล่าวถึงกุศล ก็เป็นอันกล่าว
ถึงกิริยาเป็นอัพยากฤตไว้ด้วย เพราะเป็นไปเสมอกันด้วยกุศลโดยแท้.
พึงทราบในข้อนี้เหมือนอย่างในปัฏฐาน ท่านสงเคราะห์กิริยาชวนะด้วย

ศัพท์กุศลชวนะว่า เมื่อกุศลอกุศลดับ วิบากย่อมเกิดขึ้นเพราะกุศล
อกุศลนั้นเป็นอารมณ์.
[181] บทว่า สามญฺญฺผานิ ได้แก่ สามัญผล 4. ด้วยบทนี้
ท่านกล่าวถึงโลกุตรวิบากเป็นอัพยากฤต. บทว่า นิพฺพานํ ได้แก่
นิพพานเป็นอัพยากฤต.
[182] บทว่า ปามุชฺชมูลกา คือ มีความปราโมทย์เป็น
เบื้องต้น. เพราะประกอบด้วยความปราโมทย์.
ในบทว่า อนิจฺจโต มนสิกโรโต ปามุชฺชํ ชายติ นี้ มี
ความว่า เมื่อทำไว้ในใจโดยแยบคาย ย่อมเกิดปราโมทย์. เมื่อทำไว้
ในใจโดยไม่แยบคาย ย่อมไม่เกิดปราโมทย์. จริงอยู่ เมื่อทำไว้ในใจ
โดยไม่แยบคาย กุศลจะไม่เกิด. ไม่ต้องพูดถึงวิปัสสนาละ. หากถามว่า
เพราะเหตุไรท่านจึงกล่าวไว้โดยสรุป. ตอบว่า เพื่อแสดงความที่ปรา-
โมทย์มีกำลังมาก. เพราะเมื่อไม่มีปราโมทย์ ความไม่ยินดีความกระสัน
ก็จะเกิดขึ้นในเสนาสนะอันสงัด และในธรรมอันเป็นอธิกุศล. เมื่อมี
อย่างนี้ย่อมก้าวถึงภาวนาทีเดียว.
อนึ่ง เมื่อมีปราโมทย์ ภาวนาย่อมถึงความเต็มเปี่ยมเพราะไม่มี
ความไม่ยินดี. เพื่อแสดงถึงความที่ภาวนามีอุปการะโดยความเป็นเบื้อง
1. อภิ. ป. 40/480.

ต้นของการทำไว้ในใจโดยแยบคาย จักกล่าวถึงหมวด 9 ข้างหน้า.
ความปราโมทย์เพราะเป็นปัจจัยแห่งวิปัสสนาย่อมเกิดแก่ผู้เจริญ
วิปัสสนาโดยบาลีว่า
ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพุพยํ
ลภตี ปีติปาโมชฺชํ อมตํ ตํ วิชานตํ.

เมื่อใดย่อมพิจารณาเห็นความเกิดและความ
เสื่อมของขันธ์ทั้งหลาย เมื่อนั้นย่อมได้ปีติและ
ปราโมทย์นั่นเป็นอมตะของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย.1

แต่ในที่นี้พึงถือเอาความปราโมทย์ เพราะการพิจารณากลาปะ
เป็นปัจจัย. ความเป็นผู้ถึงความปราโมทย์ ชื่อว่า ปามุชฺชํ คือ ปีติ
มีกำลังอ่อน. พึงเห็นว่า อักษร ลงในอรรถแห่งอาทิกรรม.
บทว่า ปมุทิตสฺส - ถึงความปราโมทย์ ได้แก่ ถึงความปรา-
โมทย์ คือ ยินดีด้วยความปราโมทย์นั้น. ปาฐะว่า ปโมทิตสฺส บ้าง.
ความอย่างเดียวกัน .
บทว่า ปีติ ได้แก่ ปีติมีกำลัง. บทว่า ปีติมนสฺส ใจมีปีติ
คือ ใจประกอบด้วยปีติ. พึงเห็นว่า ลบ ยุตฺต ศัพท์เสีย เหมือนบทว่า
อสฺสรโถ รถเทียมด้วยม้า. บทว่า กาโย ได้แก่ นามกาย หรือ
1. ขุ.ธ.25/35.

รูปกาย. บทว่า ปสฺสมภติ ย่อมสงบ คือ เป็นผู้สงบความ
กระวนกระวาย. บทว่า ปสฺสทฺธกาโย - กายสงบ คือ กายสบายเพราะ
ประกอบด้วยความสงบทั้งสอง.
บทว่า สุขํ เวเทติ - ย่อมได้เสวยสุข คือ ย่อมได้เสวยเจต-
สิกสุข. หรือกับด้วยกายิกสุข. บทว่า สุขิโน - ของผู้มีความสุข คือ
พร้อมพรั่งด้วยความสุข. บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ - จิตย่อมตั้งมั่น คือ
จิตย่อมตั้งมั่นเสมอ. จิตมีอารมณ์เดียว.
บทว่า สมาหิเต จิตฺเต - เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสัตตมีวิภัตติลง
ในภาวลักษณะโดยเป็นภาวะ . ย่อมกำหนดรู้ตามความเป็นจริงโดยความ
ตั้งมั่นแห่งจิต.
บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริง คือ รู้
สังขารตามความเป็นจริงด้วยสามารถแห่งอุทยัพพยญาณเป็นต้น.
บทว่า ปสฺสติ - ย่อมเห็น คือ เห็นด้วยปัญญาจักษุการทำสิ่ง
ที่ถูกต้องนั้นดุจเห็นด้วยตา. บทว่า นิพฺพินฺทติ - ย่อมเบื่อหน่าย คือ
เบื่อหน่ายในสังขารทั้งหลาย เพราะประกอบด้วยวิปัสสนาญาณ 9 อย่าง
บทว่า นิพฺพินฺทํ วิรชฺชติ - เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายความ
กำหนัด คือ เมื่อยังวิปัสสนาให้ถึงชั้นยอด เป็นอันคลายกำหนัดจาก
สังขารโดยประกอบด้วยมรรคญาณ.

บทว่า วิราคา วิมุจฺจติ - เพราะคลายความกำหนัด จิตย่อม
หลุดพ้น คือ จิตย่อมหลุดพ้น ด้วยน้อมไปในนิพพานด้วยผลวิมุตติ
เพราะมรรคเป็นเหตุอันได้แก่วิราคะ. แต่ในบางคัมภีร์ในวาระนี้ท่าน
เขียนนัยแห่งสัจจะไว้มีอาทิว่า รู้ตามความเป็นจริงว่านี้ทุกข์ ด้วยจิตตั้ง
มั่น. อนึ่ง ในบางคัมภีร์ท่านเขียนนัยแห่งสัจจะนั้นโดยนัยมีอาทิว่า ย่อม
ทำไว้ในใจโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์. แม้ใน 2 วาระนั้นก็ต่างกันโดย
พยัญชนะเท่านั้น โดยอรรถไม่ต่างกัน. เพราะบทว่า นิพฺพินฺทํ
วิรชฺชติ
- เมื่อมรรคญาณสำเร็จ เพราะกล่าวถึงมรรคญาณ เป็นอัน
สำเร็จกิจเพราะตรัสรู้อริยสัจ 4 ด้วย. เพราะฉะนั้น แม้วาระที่ท่าน
กล่าวโดยนัยแห่ง สัจจะ 4 ก็มิได้ต่างกันโดยอรรถด้วยวาระนี้.

[183] บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเมื่อจะให้อารมณ์ต่างกัน เพราะ
กล่าวถึงอารมณ์ไม่ต่างกันด้วยบทมีอาทิว่า อนิจฺจโต จึงกล่าวบทมีอาทิ
ว่า รูปํ อนิจฺจโต มนสิกโรติ ย่อมมนสิการรูปโดยความเป็นของไม่
เที่ยง.
บทว่า โยนิโสมนสิการมูลกาคือ ธรรมมีโยนิโสมนสิการ
เป็นเบื้องต้นเป็นหลัก. เพราะปราโมทย์เป็นต้น ละโยนิโสมนสิการ
เสียแล้วก็ไม่ครบ 9.
บทว่า สมาหิเตน จิตฺเตน - ด้วยจิตตั้งมั่น คือ ด้วยจิตเป็นเหตุ.

บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริว คือ รู้ด้วย
ปัญญา. ท่านสงเคราะห์แม้การรู้ตามสัจจะอันเป็นส่วนเบื้องต้นด้วยการ
ฟังตาม ในเมื่อกล่าวว่า ย่อมมนสิการโดยแยบคายว่า นี้ทุกข์.
บทว่า โยนิโสมนสิกาโร ได้แก่ มนสิการโดยอุบาย.
184] ธาตุนานตฺตํ ปฏิจฺจ อุปฺปชฺชติ ผสฺสนานตฺตํ
ความต่างแห่งผัสสะอาศัยความต่างแห่งธาตุเกิดขึ้น ความว่า ความต่าง
แห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น อาศัยความต่างจักขุธารตุเป็นต้นเกิดขึ้น.
บทว่า ผสฺสนานตฺตํ ปฏิจฺจ - อาศัยความต่างแห่งผัสสะ คือ
อาศัยความต่างแห่งจักขุสัมผัสเป็นต้น.
บทว่า เวทนานานตฺตํ - ความต่างแห่งเวทนา คือ ความต่างแห่ง
จักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น.
บทว่า สญฺญานานตฺตํ - ความต่างแห่งสัญญา คือ ความต่าง
แห่งกามสัญญาเป็นต้น.
บทว่า สงฺกปฺปนานตฺตํ - ความต่างแห่งความดำริ คือ ความ
ต่างแห่งความดำริถึงกามเป็นต้น.
บทว่า ฉนฺทนานตฺตํ - ความต่างแห่งฉันทะ คือ ความต่าง
แห่งฉันทะย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ฉันทะในรูป ฉันทะในเสีย เพราะ
ความต่างแห่งความดำริ.

บทว่า ปริฬาหนานตฺตํ - ความต่างแห่งความเร่าร้อน คือ ความ
ต่างแห่งความเร่าร้อน ย่อมเกิดขึ้นอย่างนี้ว่า ความเร่าร้อนในรูป ความ
เร่าร้อนในเสียง เพราะความต่างแห่งฉันทะ.
บทว่า ปริเยสนานตฺตํ - ความต่างแห่งการแสวงหา คือ ความ
ต่างแห่งการแสวงหารูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งความ
เร่าร้อน.
บทว่า ลาภนานตฺตํ - ความต่างแห่งการได้ คือ ความต่างแห่ง
การได้รูปเป็นต้น ย่อมเกิดขึ้นเพราะความต่างแห่งการแสวงหา.
จบ อรรถกถาธรรมนานัตตญาณนิทเทส


ญาณปัญจกนิทเทส


[185] ปัญญาอันรู้ยิ่งเป็นญาตัฏฐญาณอย่างไร ปัญญาเครื่อง
กำหนดรู้เป็นติรณัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องละเป็นปริจจาคัฏฐญาณ ปัญญา
เครื่องเจริญเป็นเอกรสัฏฐญาณ ปัญญาเครื่องกระทำให้แจ้ง เป็นผัสส-
นัฏฐญาณ.
พระโยคาวจรรู้ยิ่งธรรมใด ๆ แล้ว เป็นอันรู้ธรรมนั้น ๆ แล้ว
กำหนดรู้ธรรมใด ๆ แล้ว เป็นอันพิจารณาธรรมนั้น ๆ แล้ว ละธรรม
ใด ๆ ได้แล้ว เป็นอันสละธรรมนั้น ๆ แล้ว เจริญธรรมใด ๆ แล้ว